ม.เกษตรฯทูลเกล้าฯถวายปริญญาแด่เจ้าชายซาอุฯ

316

มาติดตามควันหลงหลังประชุมเอเปกกันต่อ ล่าสุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ เจ้าชายซาอุฯ ในระหว่างเสด็จเยือนไทย เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

20 พ.ย.65 รายงานว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แด่ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
โดยรายละเอียดระบุว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถ ในด้านศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อพระราชทานต่อการปฏิบัติ ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยสํานึกในพระอัจฉริยภาพดังกล่าวข้างต้น สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแด่ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด 19 พฤศจิกายน 2565

โดยผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าเฝ้าทูลเกล้า ฯ ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อาทิ

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แด่ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น

ครับ การฟื้นความสัมพันธ์ไทย กับ ซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ หลังหมางเมินกันมากกว่า 30 ปี ซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นประเทศสำคัญ ที่มีบทบาทในตะวันออกกลาง และซาอุฯ มีโครงการใหญ่ ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Vision 2030) ที่ประกาศเมื่อเดือนเมษายน 2559

โดยซาอุฯ จะดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะลดการพึ่งพารายได้หลักจากการขายน้ำมันดิบ และสนับสนุนการท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้จะมีความสำคัญต่อการค้า การลงทุนของไทย โดยเฉพาะภาคแรงงาน
ในขณะเดียวกันซาอุฯ สนใจเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน โดยเมื่อ ช่วงปลายเดือน ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา ซาอุฯ และกระทรวงพลังงานของไทย ได้มีการเจรจาเข้ามาลงทุนตั้งโรงกลั่นและคลังน้ำมันในประเทศไทย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาค

ดังนั้นแล้ว การสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนี้ จะสร้างประโยชน์มหาศาลต่อทั้ง 2ชาติครับ