อัพเดท อุโมงค์รถไฟสายยาวสุดในประเทศไทย คาดเสร็จปลายปี 64

700

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia มาติดตามความคืบหน้าก่อสร้างอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทยกันบ้าง ที่ล่าสุด งานก่อสร้างอุโมงค์ ของโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ  อุโมงค์ที่ 1 ซึ่งจะเป็นอุโมงค์ที่ยาวสุดในประเทศไทย  ระยะทาง  5.85 กม.คืบหน้าแล้ว 72 %   ส่วนอุโมงค์ที่ 2   และอุโมงค์ที่ 3   ขุดเจาะได้ครบระยะทางแล้ว  โครงการนี้กำหนดแล้วเสร็จปลายปี 2564 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

สำหรับความก้าวหน้าของโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 ล่าสุด สัญญาที่ 3 : เป็นงานก่อสร้างอุโมงค์ ระยะทางรวมประมาณ  8 กม.

ขอบเขตงานคือ อุโมงค์ที่ 1 (กม.136+000-กม.141+850) ระยะทาง 5.850 กม. อุโมงค์ที่ 2 (กม.144+400-กม.145+050) ระยะทาง 650 ม. อุโมงค์ที่ 3 (กม.198+200-กม.199+600) ระยะทาง 1.400 กม.สำหรับ อุโมงค์ที่ 1   อยู่ที่ กม.136+000 ถึง 141+850 ระหว่างสถานีผาเสด็จ กับ สถานีหินลับ เป็นอุโมงค์คู่ สำหรับขบวนรถวิ่งขึ้น-ล่อง ความยาว 5.85 กม.และเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

 

โครงการตามสัญญาที่ 3 นี้ ได้เริ่มเมื่อ 1 ก.ค.61 กำหนดแล้วเสร็จ 30 ธันวาคม 2564  โดยล่าสุดได้มีรายงานจากทาง โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ  ว่า  การก่อสร้างของสัญญาที่ 3 มีเปอร์เซนต์ความก้าวหน้าในเดือนตุลาคม 2563 ดังนี้ ผลงานสะสม 53.861 % แผนงานสะสม 63.831 % ผลงานสะสมช้ากว่าแผนงานสะสม -9.970 %

โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ ความคืบหน้าในการขุดเจาะอุโมงค์ อุโมงคที่ 1   ความคืบหน้า คิดเป็น 72 %  อุโมงค์ที่ 2   ขุดเจาะได้ครบระยะทางแล้ว และ อุโมงค์ที่ 3   ขุดเจาะได้ครบระยะทางแล้ว  มีรายงานเพิ่มเติม ว่า  อุโมงค์ที่ 2 ได้เริ่มวางรางรถไฟแล้ว ขณะที่อุโมงค์ที่ 3 อยู่ระหว่างเทคอนกรีตผนังอุโมงค์ และคาดว่า ในปี 2564 จะสามารถวางรางได้ สำหรับโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ นี้จัดเป็นอีกหนึ่งเส้นทางตามแผนเร่งรัดรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน เน้นเพื่อการขนส่งและจัดการโลจิสติกส์ ทั้งขนส่งคนและขนส่งสินค้า ระยะทาง 136 กิโลเมตร

โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ แบ่งออกเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 ก.ม. วงเงิน 7,721 ล้านบาท, สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 ก.ม. วงเงิน 7,060 ล้านบาท สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์ ระยะทาง 8 ก.ม. วงเงิน 9,399 ล้านบาท โดยเส้นทางก่อสร้างจะผ่าน 2 จังหวัดคือ สระบุรี และนครราชสีมา ตามแผนการก่อสร้างจะแล้วเสร็จทั้งโครงการภายในปี 2565

 

การเจาะภูเขาเพื่อสร้างอุโมงค์ นับเป็นวิศวกรรมชั้นสูง  การเจาะอุโมงค์ที่ยาวสุดในประเทศไทย จึงเป็นการท้าทายความสามารถของบริษัทคนไทย ซึ่งถ้าดำเนินการได้สำเร็จลุล่วง เป็นแหล่งศึกษา และเครดิตของบริษัทในการไปรับงานที่อื่นๆ ทั้งใน และต่างประเทศต่อไป

ดังนั้นการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ นอกจากจะสร้างระบบสาธารปโภคพื้นฐานให้ประเทศมีความก้าวหน้า ประชาชนเกิดความสะดวกสบาย และช่วยสร้างเศรษฐกิจแล้ว ยังจะเป็นแหล่งฝึกฝนทักษะ และสร้างองค์ความรู้ให้คนไทยได้อย่างมหาศาล

และสามารถทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้  สร้างงานให้คนไทย และมีโอกาสสร้างเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล ครับ